ความเชี่ยวชาญ

1. การพัฒนาและปรับปรุงการจัดการองค์กร และทรัพยากรมนุษย์ (Organizational and Human Resource Management)

องค์กรที่มีศักยภาพคือองค์กรที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ องค์กรที่อยู่รอดในโลกแห่งความเป็นจริงได้นั้นก็คือองค์กรที่ต้องมีการปรับตัวตลอดจนพัฒนาให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคด้วยนั่นเอง

เป้าหมายหนึ่งของทุกองค์กรก็คือการมุ่ง “พัฒนาและปรับปรุงการจัดการองค์กร (Organizational Management)” เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา แล้วผู้ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้านั้นไม่ใช่เฉพาะแค่ในส่วนของผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบุคลากรทุกฝ่ายที่รักในการพัฒนาศักยภาพตัวเองให้ดียิ่งขึ้นด้วยนั่นเอง

การพัฒนาองค์กรก็คือการทำให้องค์กรนั้นดีขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าเดิม ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การปฎิบัติงาน ระบบโครงสร้างองค์กร ไปจนถึงทัศนคติในการทำงาน ปัจจุบันการพัฒนาองค์กรกลายเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารตลอดจนขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรอย่างเป็นระบบตลอดจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น

การพัฒนาองค์กรยังหมายถึงการยกระดับองค์กรอย่างสร้างสรรค์และให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยที่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรในทุกระดับ โดยหลักการสำคัญในการพัฒนาองค์กร รวมไปถึงทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรนั้น นอกจากจะต้องมีแนวทางที่สามารถตอบสนองต่อวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) ตลอดจนค่านิยม (Core Value) ขององค์กรในภาพรวมแล้ว การพัฒนายังจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถปฎิบัติให้เกิดผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนั่นจะทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป



ขอบเขตของการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสาขาการพัฒนาและปรับปรุงการจัดการองค์กร และทรัพยากรมนุษย์ ประกอบไปด้วย

  • การปรับโครงสร้างองค์กร (Organizational Structure)
  • การจัดการ และการวางแผนทรัพยากรบุคคล (HR Management and Manpower Planning)
  • การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Operational Improvement)
  • การออกแบบโครงสร้างองค์กรและอัตรากำลัง (Organization Design & Manpower Planning)
  • การพัฒนาองค์กร (Organization Development)
  • การวิเคราะห์และประเมินค่างาน (Job Analysis & Job Evaluation)
  • การวางแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Development Plan)
  • การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง และเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Succession Plan & Career Path)
  • การกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทน (Remuneration Structure)
  • การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Capacity Building)
    • หลักสูตรฝึกอบรมสาธารณะ (Public Training)
    • หลักสูตรฝึกอบรมตามความต้องการเฉพาะ (Customized Training Program)




2. การบริหารจัดการยุทธศาสตร์ (Strategic Management)

ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องอาศัยชั้นเชิงในการบริหารที่เหนือกว่าคู่แข่ง หรืออาศัยความว่องไวในการปรับตัวให้ทันต่อภาวะการแข่งขันที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้นักบริหารกำหนดทิศทางของธุรกิจ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ ช่วยกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์การ เพื่อที่จะนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติ และควบคุมประเมินผลการดำเนินงานขององค์การได้ ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะแต่องค์การภาครัฐหรือภาคเอกชนแต่อย่างใด

กลยุทธ์ขององค์การจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การได้ การทำความเข้าใจและการพยายามศึกษาองค์การที่ประสบผลสำเร็จในการใช้กลยุทธ์เพื่อการจัดการ จะทำให้นักบริหารได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของกลยุทธ์ ที่จะช่วยสนับสนุนองค์การให้ประสบความสำเร็จ และจะต้องมีการพิจารณาเลือกกลยุทธ์และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การ โดยแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือการกำหนดภารกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคและบดบังโอกาสในการก้าวหน้าขององค์การได้




ขอบเขตของการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสาขาการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

  • การวางแผนยุทธศาสตร์ และการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Strategy and Operational Planning)
  • การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management)




3. การประเมินผลองค์กร และการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การประเมินผลองค์กร (Organizational Evaluation)

การประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการบริหาร เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงสถานะและผลการดำเนินงานขององค์กรเป็นข้อมูลที่สำคัญในการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายในการแข่งขัน รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินความสามารถในการบริหารของผู้บริหารในองค์กรนั้นๆ และยังเป็นวิธีการที่สำคัญที่จะช่วยให้ทราบว่าการดำเนินงานขององค์กรได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ รวมทั้งยังช่วยในการกำหนดทิศทางในการดำเนินงานต่อไปในอนาคตขององค์กรด้วย

การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)

การประเมินผลการปฏิบัติงาน (performance appraisal) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จได้ เป็นกระบวนการตีค่าผลงานที่พนักงานปฏิบัติได้ เปรียบเทียบกับมาตรฐานงานด้วยหวังใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาคุณค่า ความสามารถของพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการประเมินผลงานขององค์การด้วย อธิบายขยายความหมายถึงเป็นการประเมินผลงานขององค์การฝ่ายงาน และพนักงานในคราว เดียวกันที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นการประเมินจากภาพรวมขององค์การจนถึงระดับบุคคล

ขอบเขตของการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล ประกอบด้วย

  • การประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร (Organizational Evaluation)
  • การประเมินความคุ้มค่าของการจัดตั้งองค์กร
  • การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
  • การจัดทำตัวชี้วัดการประเมินผล (Key Performance Indicator)





4. งานศึกษา หรือบริการทางวิชาการเฉพาะด้าน (Specific Issue)

งานศึกษา และการบริการข้อมูลเชิงวิชาการนับว่ามีความสำคัญมากขึ้นในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน หรือการตัดสินใจต่างๆ เนื่องจากจะต้องมีข้อมูลสนับสนุนที่เชื่อถือได้แล้ว ยังอาจรวมไปถึงการมีกระบวนการในการศึกษาที่เหมาะสมอีกด้วย

ขอบเขตของการให้บริการทางด้านงานบริการทางวิชาการ ประกอบด้วย

  • การทำแผนที่ภาษี (Tax Map)
  • การวางแผน และการบริหารงานประชาสัมพันธ์ (PR Management)
  • การวิจัยเฉพาะเรื่อง